ขอนแก่น, 1 กรกฎาคม 2568 — SEA Bridge บริษัทที่ปรึกษาและนักพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมระหว่างประเทศ (Cross-Border Venture Builder) จับมือกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKBS) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อร่วมกันพัฒนา “Isan Bridge” แพลตฟอร์มเชิงพื้นที่ที่เชื่อมผู้ประกอบการ นักศึกษา และเครือข่ายนวัตกรรมอีสาน เข้าสู่ตลาดภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของภาคอีสาน ผ่านการร่วมพัฒนาหลักสูตร การเชื่อมโยงโครงการฝึกงานและสหกิจศึกษากับการทำงานจริงกับบริษัท การจัดทำวิจัยและกรณีศึกษา (case study) ในระดับพื้นที่ และร่วมจัดกิจกรรมเวทีจริงที่สร้างผลกระทบเชิงสังคม เช่น “Isan Bridge Hackathon” จะจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีที่จังหวัดขอนแก่นและภูมิภาคอีสาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นเวทีแห่งแรงบันดาลใจ การต่อยอดนวัตกรรมความคิดสร้างสรร และการรวมพลังท้องถิ่นสู่การเติบโตระดับนานาชาติ
“เราภูมิใจที่การทำงานร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาตลอด 2 ปี โดยเฉพาะ KKBS ทำให้ ม.ข. กลายเป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรที่ส่งนักศึกษาเข้าร่วม SEA Bridge NextGen มากที่สุดในปีนี้ และการได้ร่วมจัด Isan Bridge Hackathon ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นที่ดี”
— แคสเปอร์-ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน, ผู้ก่อตั้ง SEA Bridge
“Isan Bridge” คือแนวคิดในการพัฒนาแพลตฟอร์มความร่วมมือที่ผสมผสานทุน 4 ด้าน (FISH Capital: Financial การเงิน, Intellectual องค์ความรู้, Social ทุนสังคม, Human ทุนมนุษย์) ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ โดยจะมีการพัฒนา:
“KKBS มีวิสัยทัศน์ในการสร้างนักศึกษาที่เป็นนักคิดและนักลงมือ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ SEA Bridge ในการเป็น ‘Growth Partner for Good Business’ เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะสร้างต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ต่อยอดในเชิงพื้นที่อีกด้วย”
— ผศ.ดร. พงษ์สุทธิ พื้นแสน คณบดี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ความร่วมมือระหว่าง SEA Bridge และ มข. ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง “Isan Bridge” ให้เป็นแพลตฟอร์มกลางของภูมิภาคอีสาน ที่รวมพลังมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เพื่อเชื่อม “ทุนและโอกาสท้องถิ่น” เข้ากับ “ตลาดและพันธมิตรระดับภูมิภาคและนานาชาติ” สร้างเครือข่าย Local to Global ที่แท้จริง
“กิจกรรม Hackathon นี้ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายที่สำคัญ ที่เชื่อมระหว่างงานวิจัย นักศึกษา และการออกสู่ตลาด ทางคณะฯ ยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ และจะร่วมมือกันต่อยอด Isan Bridge ให้เป็นสะพานแห่งโอกาสที่เชื่อมโยงอีสานสู่ภูมิภาคและโลก”
— รศ.ดร. กฤตภัทร ถาปาลบุตร, คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นอกจากนี้ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เคยเข้าร่วม SEA Bridge NextGen ยังกล่าวเสริมอีกว่า:
“การร่วมทีมกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย หลากหลายสัญชาติ และได้ลงมือทำโปรเจกต์จริงกับบริษัท ทำให้ได้เปิดโลกและทำความเข้าใจในโลกธุรกิจลึกขึ้น ทั้งในและนอกประเทศ จนทำให้หนูกล้าก้าวข้ามขีดจำกัดตัวเอง เพื่อล่าตามฝันที่ใหญ่ขึ้น”
— ณัชชา แหล่ป้อง SEA Bridge NextGen รุ่นที่ 3 และนักศึกษา IC มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันนี้ Isan Bridge ไม่ใช่แค่โครงการ แต่กำลังกลายเป็น “ขบวนความร่วมมือ” ที่รวมพลังจากทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ เอกชน นักวิจัย และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่เชื่อว่าภูมิภาคอีสานสามารถเป็นศูนย์กลางแห่งความคิดสร้างสรรค์และการขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคได้จริง
เราขอชวนทุกท่าน — ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ หรือนักลงทุน — มาร่วมเป็นภาคีของการขับเคลื่อนนี้
ถ้าคุณเชื่อว่า “Local คือพลัง” และ “ความร่วมมือคือหัวใจของการเปลี่ยนแปลง” — เราเชื่อว่า Isan Bridge อาจเป็นสะพานของคุณเช่นกัน
SEA Bridge คือที่ปรึกษาและนักพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ (Cross-Border Venture Builder) ที่เชี่ยวชาญการร่วมสร้างธุรกิจนวัตกรรมกับทายาทธุรกิจ (Family Business Successors) และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (NextWave Entrepreneurs) ด้วยกลยุทธ์ FISH Capital ที่เน้นการวิเคราะห์ศักยภาพและจุดแข็งของผู้นำองค์กรหรือธุรกิจเดิม พร้อมเชื่อมต่อโอกาสในตลาดเปิดใหม่ที่กำลังเติบโต เช่น อาเซียน ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และ BRICS โดย SEA Bridge ไม่เพียงแค่ให้คำปรึกษา แต่เป็นผู้ร่วมลงมือสร้างธุรกิจจริง จับคู่พันธมิตรและนักลงทุน พร้อมสนับสนุนแหล่งทุนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตและขยายสู่เวทีโลกอย่างยั่งยืน เรามุ่งสร้างพันธมิตรที่กล้าคิด กล้าลงมือ และกล้าไปไกล — เพราะเรารู้ดีว่าอนาคตไม่รอใคร
โครงการเรือธงของเรา “SEA Bridge NextGen” คือแพลตฟอร์มบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่ ที่ฝึกอบรมเยาวชนและนักศึกษาให้กลายเป็นผู้นำธุรกิจแห่งอนาคต ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติจริง เช่น Hackathon, Business Challenge และ ASEAN Future Talent Forum ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 2,000 คน จาก 24 ประเทศทั่วโลก