วิเคราะห์ตลาดเวียดนาม: โอกาสส่งออกและสิ่งที่ SME ต้องรู้

เวียดนามคือหนึ่งในตลาดส่งออกที่น่าจับตาที่สุดในอาเซียน บทวิเคราะห์จาก SCB ชี้ให้เห็นโอกาส แรงส่ง และสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียม

เวียดนาม 2025: ไม่ใช่แค่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น แต่กำลังจะเปลี่ยนเกมเศรษฐกิจของอาเซียน

หลายคนรู้จักเวียดนามในฐานะ “คู่แข่งที่น่าจับตา” แต่จากข้อมูลล่าสุดโดยคุณอภิรดี สินสุขเพิ่มพูน ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารไทยพาณิชย์ เรากลับพบว่า เวียดนามคือ “ตลาดที่น่าลุ้น” สำหรับธุรกิจไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่มองหาโอกาสในต่างประเทศ

ด้วยขนาดประชากรกว่า 100 ล้านคน (เทียบกับ 74 ล้านของไทย) และโครงสร้างอายุเฉลี่ยเพียง 34 ปี (เทียบกับ 45 ปีของไทย) เวียดนามมี “แรงส่งจากภายใน” ที่ทรงพลัง และกำลังกลายเป็นฐานกำลังซื้อที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค

ตลาดที่ยาว (จริง ๆ): เข้าใจภูมิศาสตร์ ก่อนคิดเจาะตลาด

สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะ “ยาวจากเหนือจรดใต้” อย่างชัดเจน ส่งผลให้ภูมิอากาศ พฤติกรรมผู้บริโภค และระบบขนส่งแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค

  • เหนือ (Hanoi): เมืองหลวงเก่า ฐานการปกครอง วิถีชีวิตค่อนข้างอนุรักษ์นิยม
  • ใต้ (Ho Chi Minh City): เมืองเศรษฐกิจทันสมัย เปิดรับแบรนด์ต่างชาติมาก
  • กลาง (Danang): โซนที่รัฐบาลเวียดนามผลักดันให้เป็น Free Trade Zone และ logistic hub ใหม่

นอกจากนี้ เวียดนามยังมีการใช้ ระบบ transshipment สูงมาก โดยเฉพาะจากจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งนี้อาจเป็นโอกาสใหม่สำหรับไทยในการเข้าไป “เชื่อม” ห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค

ประชากรวัยทำงานคือ “กุญแจทอง” ของเวียดนาม

หนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจที่สุดคือ เวียดนามมีประชากรวัยทำงาน (working-age population) มากถึง 57 ล้านคน หรือราว 58% ของประชากรทั้งหมด

เมื่อเทียบกับไทยที่เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว ถือว่าเวียดนามมี “พลังแรงงานที่สดใหม่” และยังอยู่ในช่วงสร้างรายได้และกำลังซื้อสูง

นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเฉพาะในสาย IT และ STEM อย่างจริงจัง ทำให้ workforce ของเวียดนามมีแนวโน้ม เก่งเทคโนโลยี และปรับตัวเร็ว

ภาพรวมเศรษฐกิจและนโยบายใหม่: สัญญาณเชิงบวกสำหรับนักลงทุน

  • เวียดนามกำลังจะปรับระบบการจดทะเบียนบริษัท จากเดิมมี 63 จังหวัด เหลือเพียง 38 เขตเศรษฐกิจ
    → เพื่อให้บริหารจัดการสะดวกขึ้น และดึงดูดนักลงทุน
  • ตั้งเป้าให้มีบริษัทในเวียดนามกว่า 2 ล้านราย (ปัจจุบันน้อยกว่า 1 ล้านราย) โดยรัฐบาลมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 3 ล้านในไม่กี่ปี
  • ภาครัฐผลักดันพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) และการขยายระบบราง
  • เมืองดานังถูกพัฒนาเป็น Free Trade Zone ที่เน้นดึงธุรกิจโลจิสติกส์และเทคโนโลยี

สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ชัดว่า เวียดนามไม่ได้โตเฉพาะแรงงาน แต่มี “โครงสร้างพื้นฐาน” ที่รองรับการขยายธุรกิจได้ระยะยาว

ผู้บริโภคเวียดนาม: วัยรุ่น เยอะจริง และซื้อเป็น

นอกจากจำนวนคนและวัยแล้ว พฤติกรรมของผู้บริโภคเวียดนามก็เปลี่ยนไปอย่างน่าสนใจ

  • เน้นสินค้า consumer goods โดยเฉพาะสินค้าความงาม อาหารเพื่อสุขภาพ และของใช้ในครัวเรือน
  • ให้ความสำคัญกับ “คุณภาพที่จับต้องได้” มากกว่าการซื้อเพราะแบรนด์
  • มีพฤติกรรมออนไลน์ที่ active มาก โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มอย่าง TikTok, Zalo และ Shopee

สิ่งที่ธุรกิจไทยต้องทำคือ “เข้าใจ Insight ของคนรุ่นใหม่” และออกแบบสินค้า/บริการที่มี both functional value และ emotional value

สิ่งที่ SME ไทยควรรู้ก่อนจะบุกเวียดนาม

  1. อย่าคิดว่าเวียดนามคือ “ไทยเมื่อ 10 ปีก่อน” เพราะผู้บริโภควันนี้ sophisticated ขึ้นมาก
  2. ถ้าจะจริงจัง ควรศึกษาภาษาเวียดนาม แม้พูดไม่ได้ก็ต้องรู้ศัพท์เบื้องต้น เพราะ “ภาษาคือกุญแจเปิดใจ”
  3. ต้องลงพื้นที่เอง ไม่ใช่ดูแต่รีพอร์ตหรือคำเชิญจาก partner
  4. ใช้ประโยชน์จากพันธมิตรในประเทศ เช่น ธนาคารหรือที่ปรึกษาท้องถิ่น ที่รู้ระบบ กฎหมาย และภาษีดีพอสมควร

SEA Bridge’s Take

ตลาดเวียดนามในปี 2025 ไม่ใช่แค่ “น่าลอง” แต่เริ่ม “ต้องมี” สำหรับธุรกิจที่อยากเติบโตในระดับภูมิภาค

ในขณะที่หลายแบรนด์ทั่วโลกเริ่มลงหลักปักฐานในโฮจิมินห์หรือฮานอยแล้ว

คำถามคือ...แบรนด์ของคุณจะเข้าไป “เมื่อไหร่” และ “อย่างไร” ต่างหากที่สำคัญกว่า

Exploring the Latest in Our Blog

Related Insights