เมื่อพูดถึง “Soft Power” หลายคนอาจนึกถึงซีรีส์เกาหลีหรือแบรนด์แฟชั่นระดับโลก แต่ถ้ามองลึกลงไปในประเทศไทย โดยเฉพาะ “ภาคอีสาน” เรากำลังเห็นพลังเงียบที่กำลังเขย่าภูมิทัศน์เศรษฐกิจไทยอย่างแท้จริง
Soft Power ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือส่งออกวัฒนธรรม แต่กำลังกลายเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในอีสาน ที่กำลังเปลี่ยนจากภูมิภาคชายขอบให้กลายเป็นศูนย์กลางของพลังสร้างสรรค์ใหม่
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปี 2566 ระบุว่า จังหวัดอุบลราชธานีทำรายได้จากธุรกิจ Soft Power สูงสุดในภาคอีสาน ทะลุ 6,400 ล้านบาท แซงหน้าจังหวัดใหญ่อย่างนครราชสีมา (โคราช) และขอนแก่นที่เคยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาค
โดยกลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้สูงสุดในอุบลฯ และบุรีรัมย์ คือธุรกิจอาหาร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสุรากลั่นของบริษัทท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ เช่น บริษัทเอส.เอส.การสุรา และบริษัทอธิมาตร นอกจากนี้ บุรีรัมย์ยังมีรายได้จากกลุ่มกีฬา เช่น สนามช้างอารีนา และช้างอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต รวมกันกว่า 1,300 ล้านบาท ยืนยันสถานะ “เมืองกีฬา” ของอีสานได้อย่างชัดเจน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ระบุว่า ธุรกิจ Soft Power ประกอบด้วย 15 สาขาหลัก เช่น ดนตรี แฟชั่น อาหาร งานฝีมือ การออกแบบ ท่องเที่ยว วัฒนธรรม และกีฬา ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมเศรษฐกิจหลากหลายของภาคอีสาน
จากข้อมูลพบว่าภาคอีสานมีผู้ประกอบการรวมกว่า 395,846 ราย ทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพและความหลากหลายของเศรษฐกิจฐานราก
เทศกาล ISAN Creative Festival (ISANCF) ที่จัดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2021 จนถึง 2024 ช่วยเร่งความตื่นตัวในภาคอีสาน โดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 1,500 ล้านบาท พร้อมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชน นักศึกษา ศิลปิน และผู้ประกอบการทั่วภูมิภาค
หนึ่งในอุตสาหกรรม Soft Power ที่เติบโตเร็วที่สุดคือ “หมอลำ” ซึ่งไม่ใช่แค่ศิลปะพื้นบ้านแต่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ข้อมูลจากโครงการ Isan Insight & Outlook โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า:
กลุ่มเป้าหมายสำคัญนอกจากคนอีสานในพื้นที่ ยังรวมถึงชาวอีสานที่ย้ายถิ่นไปทำงานในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคตะวันออก ที่ยังผูกพันกับวัฒนธรรมหมอลำอย่างลึกซึ้ง โดยพบว่า 60% ของผู้ชมดูหมอลำแบบออนกราวด์เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงโอกาสการต่อยอดผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น TikTok, YouTube หรือแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยังเปิดกว้าง
แม้ว่า Soft Power จะสร้างรายได้อย่างมหาศาล แต่เรายังพบว่า รายได้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่ เช่น อุบลฯ ขอนแก่น และโคราช ขณะที่จังหวัดเล็กยังขาดโอกาสและการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ
นี่คือเหตุผลที่ SEA Bridge มองเห็นว่า การพัฒนา Soft Power จะต้องไม่หยุดอยู่แค่เทศกาล แต่ควรเป็น “โครงสร้างเศรษฐกิจ” ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนเล็กและเยาวชนในภูมิภาคสามารถเข้าถึงตลาด วงการสร้างสรรค์ และแหล่งทุนได้จริง
Isan Bridge: Soul Proud Hackathon 2025 คือกิจกรรมที่ SEA Bridge ร่วมจัดกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น, CEA และภาคีเครือข่ายทั่วภาคอีสาน เพื่อเปิดเวทีให้นักศึกษาและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้ต่อยอด “ของดีอีสาน” ให้กลายเป็นโมเดลธุรกิจจริง
เราเชื่อว่า Soft Power ไม่ใช่แค่การเล่าเรื่อง แต่เป็นการสร้างระบบใหม่ที่คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของตัวเองอย่างแท้จริง
มาร่วมกันผลักดันพลังสร้างสรรค์จากอีสาน สู่เวทีโลก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: